หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4

หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน


ความหมายของจิตวิทยา
การศึกษาเกี่ยวกับจิตหรือวิญญาณ ( Study of mind หรือ Study of soul ) ต่อมา มีการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำ หรือกระบวนการคิด พร้อมๆ กับการศึกษาเรื่องสติปัญญา ความคิด ความเข้าใจ การใช้เหตุผล
ความสำคัญของจิตวิทยา
1.ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
2.ช่วยในการแก้ปัญหาทางจิต รู้จักวิธีรักษาสุขภาพจิตได้ดี
3.สามารถเข้าใจ ตัดสินใจ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในสังคม
4.ช่วยในการวางแผนการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

ขอบข่ายของจิตวิทยา

1.จิตวิทยาทั่วไป
 (General Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทั่วไปของมนุษย์การรับรู้ การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก สติปัญญา ประสาทสัมผัส เป็นต้น จิตวิทยาสาขาพื้นฐานของการเรียนจิตฺวิทยาสาจาอื่นต่อไป
2.จิตวิทยาพัฒนาการ
 (Developmental Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของพัฒนาการเจริญเติบโตในแต่ละวัยต่างๆ ของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
3.จิตวิทยาสังคม
 (Social Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทความสัมพันธ์และพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มสังคม ปฏิกิริยาตอบสนองของบุคคลที่อยู่รวมกัน เจตคติและความคิดเห็นของกลุ่มชน
4.จิตวิทยาการทดลอง
 (ExperimentalPsychology) ศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาทและพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ในห้องทดลอง
5.จิตวิทยาการแนะแนว(Guidance Psychology)
 นักจิตวิทยาแนะแนวทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้แนวทาง และให้คำปรึกษาสถานศึกษากับนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้มีปัญหาด้านการปรับตัว ปัญหาการเรียน และปัญหาส่วนตัวอื่นๆ
6.จิตวิทยาคลีนิค
 (Clinical Psychology) นักจิตวิทยาคลินิกทำงานในโรงพยาบาลที่มีคนไข้โรคจิต สถาบันเลี้ยงเด็กปัญญาอ่อน หรืออาจเปิดเป็นคลินิกส่วนตัวก็ได้
7.จิตวิทยาประยุกต์
 (Applied Psychology) เป็นการนำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรม การแพทย์ การทหาร เป็นต้นT
8.จิตวิทยาอุตสาหกรรม
 (Industrial Psychology) ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการทำงาน แรรงจูงใจในการทำงาน การคัดเลือกคนงาน การประเมินผลงาน
9.จิตวิทยาการศึกษา
 (Educational Psychology) ศึกษาสิ่งที่เกี่ยวกับงานด้านการเรียนการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นวิชาที่สำคัญสำหรับครูและนักการศึกษา
10.จิตวิทยาการทดลอง
 (ExperimentalPsychology) มีการศึกษาโดยการทดลองกับมนุษย์และสัตว์ทั้งในสภาพแวดล้อมทั่วไปและในห้องปฏิบัติการ วิธีการศึกษาส่วนใหญ่ใช้การสังเกต

ความหมายของจิตวิทยาการศึกษา
หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับปัญหาทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ตลอดจนศึกษาธรรมชาติและกระบวนการศึกษาเรียนรู้เพื่อนำหลักเกณฑ์ทางจิตวิทยาที่ได้รับจากการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอนให้ได้ผลดี

จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา

1.เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
2.เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ระเบียบวิธีการศึกษาทางจิตวิทยา จำแนกได้ 7วิธี ดังนี้
1.วิธีทดลอง (Experimental Method) 
การทดลองสามารถทำได้ ลักษณะ คือ การทดลองในสภาพธรรมชาติกับการทดลองในห้องปฏิบัติการ
2.วิธีการตรวจสอบจิต (Introspection) 
เป็นการให้บุคคลสำรวจตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวน และความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีตที่ผ่านมา 
3.วิธีใช้แบบทดสอบ (Testing Method) 
เป็นการใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งหรือหลายๆพฤติกรรม โดยให้ผู้รับการทดลองเป็นผู้ทำแบบทดสอบ ซึ่งอาจเป็นแบบทดสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติก็ได้
4.วิธีสังเกต (Observation) 
การสังเกตมี ลักษณะ คือ การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน และการสังเกตอย่างมีแบบแผน สำหรับการสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน เป็นวิธีสังเกตธรรมชาติ ไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนล่วงหน้า
5.วิธีวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 
เป็นวิธีการศึกษาในการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจในสิ่งนั้น วิธีนี้ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
ขั้นการตั้งปัญหา
 (Problem) เป็นการตั้งประเด็นปัญหาที่สนใจ ต้องการศึกษาและค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น
ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
 (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผลเพื่อช่วยให้ผู้ศึกษาดำเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างรวดเร็วและถูกต้อง
ขั้นการรวบรวมข้อมูล
 (Collecting Data) เป็นขั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหานั้นให้มากที่สุด และต้องวางแผนไว้ว่าจะสามารถหาข้อมูลได้ด้วยวิธีใด เช่น การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การทดลอง
ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล
 (Analysis of Data) เป็นการนำข้อมูลต่างๆที่ได้มานำแปลความหมายด้วยกาสรวิเคราะห์ตามหลักสถิติ
ขั้นการสรุปผล
 (Conclusion) เป็นการสรุปผลและรายงานผลที่ได้จาการศึกษาค้นคว้าและนำผลนั้นไปใช้ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อไปด้วย
6.วิธีการศึกษารายกรณี (Case Study Method) 
เป็นการศึกษาชีวประวัติความเป็นมาของบุคคลซึ่งต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ พิจารณา ตีความเพื่อให้เขาใจความเป็นมาในอดีตและช่วยชี้ให้เห็นปัญหาที่บุคคลนั้นกำลังเผชิญอยู่ ทำให้เข้าใจสาเหตุของปัญหาและพฤติกรรมปัจจุบัน 
7.วิธีการสัมภาษณ์ (Interview) 
เป็นวิธีการที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สามารถทำได้ทั้งอย่างมีแบบแผนและไม่มีแบบแผน จุดประสงค์เพื่อต้องการรู้รายละเอียดและทำให้เข้าใจในตัวบุคคล
 ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-  ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
-  ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
-  ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
-  ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเช่น แรงจูงใจ ความคาดหวัง เชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ
-  ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-  ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
-  ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน   
 วัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา
 1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
 2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ
 

จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
แนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มต่าง ๆ แบ่งออกเป็น กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มโครงสร้างจิต (Structuralism)
วุ้นด์ (Wilhelm max Wundt)
ทิชเชนเนอร์ (Titchener)
เฟชเนอร์ ( Fechner)
บิดาแห่งจิตวิทยาการทดลอง Wundt เชื่อว่าจิตมนุษย์ประขึ้นด้วยลักษณะเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า จิตธาตุ (Mental element) 2 ส่วน คือ
1.การสัมผัส (Sensation)
2.ความรู้สึก (Feeling) ต่อมา ทิชเชนเนอร์ (Tetchier) ได้เพิ่มโครงสร้างจิตอีก ส่วน คือ
   จิตนาการ (Image)

2. กลุ่มหน้าที่จิต (Functionalism)
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการกระทำ (Learning by doing) ประสบการณ์เป็นสิ่งสำคัญในการปรับตัวของมนุษย์
วิลเลียม เจมส์ (Williaam James) สัญชาตญาณเป็นส่วนที่ทำให้เราปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
วู้ดเวิร์ธ ( R.S.wOODWORTH) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา วิธีการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์มากที่สุด วิธีการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา


3.กลุ่มพฤติกรรมนิยม ( Behavior)
วัตสัน (John B.Watson)
พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov)
ธอร์นไดค์ (Edward L.Thorndike)
ฮัล (Clark L.Hull)
โทลแมน (Edward C.Tolman)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ศึกษาเฉพาะ พฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ พฤติกรรมทุกอย่างต้องมีสาเหตุ สาเหตุมาจากสิ่งเร้า (Stimulus) เมื่อมากระตุ้นอินทรีย์ จะมีพฤติกรรมแสดงออกมา เรียกว่าการตอบสนอง(Respones)
4. กลุ่มจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
ฟรอยด์ (Sigmund Freud)
แอดเลอร์ (Alfred Adler)
จุง (Carl G.Jung)

ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) แบ่งลักษณะจิตเป็น ส่วน
1.จิตสำนึก (Conscious) แสดงความรู้ตังตลอดเวลา
2.จิตใต้สำนึก (Subconscious) รู้ตัวตลอดเวลาแต่ไม่แสดงออกในขณะนั้น
3.จิตไร้สำนึก (Unconscious)
ฟรอยด์เน้นความสำคัญเรื่อง จิตใต้สำนึก (Subconsious) ว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ตามแนวคิดของ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจต่าง ๆ และการศึกษาเรื่องพัฒนาบุคลิกภาพกับโครงสร้างของบุคลิกภาพจิตของมนุษย์แยกเป็น ลักษณะ
1.(Id) ส่วนที่ยังไม่ได้ขัดเลา แสวงหาความสุขความพอใจโดยถือตัวเองเป็นหลัก
2. (Superego) ส่วนที่ได้มาจากการเรียนรู้เป็นส่วนที่คิดถึงผิดชอบชั่วดี คิดถึงคนอื่นก่อนตัดสินใจอะไรลงไป
3. (ego) ส่วนที่เป็นตัวตัดสินใจโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในสภาพการณ์นั้น ๆ ทำความประนีประนอมระหว่างส่วนที่ยึดความสุขส่วนตัว กับส่วนที่รู้จักผิดชอบชั่วดี
5. กลุ่มเกสตัลท์ (Gestalt Psychology)
เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer)
คอฟกา (Kurt Kofga)
เลอวิน (Kurt Lewin)
โคเลอร์ (Wolfgang Kohler)
Gestalt นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าต้องศึกษาพฤติกรรมทางจิตเป็นส่วนรวมจะแยกศึกษาทีละส่วนไม่ได้ ถ้าจะให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ต้องมีประสบการณ์เดิม พฤติกรรมการเรียนรู้มี ลักษณะ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นพื้นฐานให้เกิดการเรียนรู้
2. การเรียนรู้เป็นการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง การแก้ปัญหาของคนเราขึ้นอยู่กับ การหยั่งเห็น (Insight) เมื่อมีการการหยั่งเห็นเมื่อใดก็สามารถแก้ปัญหาได้เมื่อนั้น
แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา ช่วยในเรื่องการรับรู้และการเรียนรู้ของคนและนำไปใช้ได้มากในการจัดการเรียนการสอน


ประโยชน์ของจิตวิทยา

1.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์
2.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์
3.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์
4.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้
5.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ
6.      ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้
7.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล
8.     ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของ
        ตนเอง
9.   ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการ
       บำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น
10. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง
11. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception)ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำ
       ความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมี
        ประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น